รุ่งทิวา เหล่าอั้น

workshop4

รักษิต สุทธิพงษ์ (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรปีที่ 19 ฉบับที่ 2 เมษายนมิถุนายน 2560, หน้า 344-355.

บทคัดย่อ

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก คุณภาพคน หรือทุนมนุษย์มีความสำคัญมากในศตวรรษที่ 21 การเตรียมความพร้อมของคนไทยในอนาคต จึงเป็นหน้าที่ของระบบการศึกษาและครูที่มีคุณภาพ คุณภาพครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของครูต้องเกิดขึ้นไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย เพื่อผลิตคนที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน ตรงตามความต้องการของประเทศ กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา คือแบบแผน และกรอบโครงสร้างที่กำหนดรูปแบบ แนวทางการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมาย ดังนั้นการพัฒนาครูไทยให้มีคุณภาพ จึงต้องพัฒนาตามวิสัยทัศน์การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาครูในยุคดิจิตอล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเป็นนิสิต/นักศึกษาครู 2) การฝึกภาคปฏิบัติระหว่างการเป็นนิสิต/นักศึกษาครู และ 3) การพัฒนาครูประจำการหลังจากสำเร็จการศึกษา 





วิมล  โพธิ์กลิ่น (2564). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษายุคใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2564), หน้า 975-984.


บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในอดีตที่ผ่านมาซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นอย่างมาก การบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพตามมาตรฐานด้วยกระบวนการที่หลากหลายตามบริบท ทรัพยากรและศักยภาพที่สถานศึกษามีอยู่ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ประชาชน และหน่วยงานองค์กรในท้องถิ่น สถานศึกษาควรมีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษาให้ชัดเจน และดำเนินงานตามทิศทางที่สถานศึกษากำหนดไว้ ผลที่เกิดจากการดำเนินการตามทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษานั้นเป็นประสิทธิผลที่เกิดขึ้นดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดการบริหารของตนเองให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สถานศึกษามีความทันสมัยสามารถบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้านดังนั้นในการบริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการนำนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา

ใหม่มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เครือข่ายความร่วมมือ (Co-operate Networking) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) การบริหารสถานศึกษายุคดิจิตอล และการบริหารและกระบวนการบริหาร





อภิชาติ รอดนิยม (2564). เทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธปีที่ 6ฉบับที่ 9 (กันยายน 2564), หน้า 123-133.


บทคัดย่อ

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)ในปัจจุบัน ทําให้เกิดกระบวนการของแนวทางจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังนั้นผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียนต่างก็ต้องมีการปรับตัว และเตรียมทักษะเพื่อรับมือกับแนวทางจัดการเรียนรู้แบบใหม่อย่างทันท่วงที พร้อมรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอผู้สอนจึงต้องเตรียมตัว และเข้าใจทักษะในการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มรูปแบบต่างๆ ที่อาศัยการบริหารจัดการห้องเรียนซึ่งแตกต่างไปจากห้องเรียนปกติในสถานศึกษา ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน ที่สําคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอน สื่อการสอนเทคนิคการสอน การจัดการห้องเรียนผ่านเครือข่ายออนไลน์การสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการศึกษา และความคิดสร้างสรรค์อันส่งผลให้เกิดแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต นําไปสู่การออกแบบการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างเหมาะสมการศึกษาในยุคใหม่นี้จึงจําเป็นต้องมีช่องทางในการเรียนรู้และช่องทางในการเรียนการสอนและการวัดผลออนไลน์ ที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงความต้องการผู้เรียน วัตถุประสงค์ของรายวิชา เนื้อหาการเรียนรู้ของรายวิชา และช่องทางในการสื่อเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้สอนไปยังผู้เรียนในทุกแพลตฟอร์มและทุกรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการกําหนดเงื่อนไขประมวลผลของรายวิชา เงื่อนไขการเรียนรู้ของหลักสูตร และเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียน และในรูปแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพตอบโจทย์การศึกษายุคใหม่ ตรงกับความต้องการของผู้เรียน สื่อองค์ความรู้ของผู้สอนได้อย่างครอบคลุม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รุ่งทิวา เหล่าอั้น

นวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษายุคใหม่