ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 6
ชื่อวิทยานิพนธ์ | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 6 Factors Related to the Quality of Academic Affairs Administration of the Elementary School under the Office of National Primary Education Commission in Educational Region IV |
ชื่อนิสิต | อำนาจ เภทพ่อค้า Not Available |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | รศ ดร คุณวุฒิ คนฉลาด ผศ ดร ไพรัตน์ วงษ์นาม |
ชื่อสถาบัน | มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย Burapha University. Chonburi (Thailand). Graduate School. |
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา | วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (การบริหารการศึกษา) Master. Education (Education Administration) |
ปีที่จบการศึกษา | 2540 |
บทคัดย่อ(ไทย) | ~uความเป็นมา~u ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันนั้น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2536 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการติดตาม ควบคุม กำกับ เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาให้สูงขึ้น โดยมีเกณฑ์มาตรฐานงานวิชาการ เป็นงานหลัก ประกอบด้วยเกณฑ์มาตรฐานอื่นอีก 5 งาน คือ งานบุคลากร กิจการนักเรียน งาน ธุรการและการเงิน งานอาคารสถานที่ และงานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งเป็นงานที่ จะสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานหลัก ให้บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา จากผลการศึกษาของ งานวิจัยที่ผ่านมา พบปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน ไม่บรรลุ ตามเกณฑ์มาตรฐานในหลายๆ สาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ประเมินโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อปีการศึกษา 2538 พบว่า เขตการศึกษา 6 มีโรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานในทุกระดับน้อยที่สุด โดยเฉพาะเกณฑ์ด้านงาน วิชาการ ซึ่งในภาพรวมของทั่วประเทศ มีโรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้อยที่สุด จาก 6 งาน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งหลังจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ และเกณฑ์ มาตรฐานงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาอย่างละเอียดแล้ว สามารถคัดเลือกปัจจัยที่นำมา ศึกษาครั้งนี้ 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ครูผู้สอน งบประมาณ อาคารสถานที่ และชุมชน ~uความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า~u 1. เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ และด้านชุมชน ของโรงเรียนประถมศึกษาแต่ละ ขนาด 2. เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการจัดแหล่งความรู้ และด้านการจัดการนิเทศการเรียน การสอน ของโรงเรียนประถมศึกษาแต่ละขนาด 3. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ทั้ง 5 ด้าน ของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน 4. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน 5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อม กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา 6. เพื่อศึกษาความสามารถพยากรณ์คุณภาพการบริหารงานวิชาการจากปัจจัยแวดล้อมในการ บริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ~uวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า~u การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในตำแหน่งหัวหน้างานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 6 ประกอบด้วยจังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอุทัยธานี จากการสุ่มอย่างง่ายและแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยแวดล้อม และคุณภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS/PC(+) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สหสัมพันธ์ พหุคูณ และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ~uสรุปผลการศึกษาค้นคว้า~u 1. ปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2. คุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดี 3. เปรียบเทียบปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียน ที่มีขนาดต่างกัน โดยรวม พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่มีความเหมาะสมของปัจจัยสูงกว่าโรงเรียน ขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียน ที่มีขนาดต่างกัน เป็นรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ปัจจัยด้านงบประมาณ อาคารสถานที่ และ ด้านชุมชน ในโรงเรียนขนาดต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ส่วนด้าน ผู้บริหาร และครูผู้สอนไม่แตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนที่มี ขนาดต่างกัน โดยรวม พบว่า โรงเรียนขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนที่มีขนาด ต่างกันเป็นรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดแหล่งความรู้ และการนิเทศการเรียนการสอน ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการบริหารงาน วิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) 6. ปัจจัยแวดล้อมในการบริหารงานวิชาการ สามารถพยากรณ์คุณภาพการบริหารงานวิชาการ ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) คือ ปัจจัยด้านครูผู้สอน (X(,2)) อาคารสถานที่ (X(,4)) และด้านชุมชน (X(,5)) ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ Y(^) = .2062 + .4652(X(,2)) + .2423(X(,4)) + .2030(X(,5)) |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น